วิธีเริ่มต้นบทสนทนาและตัวอย่างประโยคที่เรียกว่า Small Talk

วิธีเริ่มต้นบทสนทนาและตัวอย่างประโยคที่เรียกว่า Small Talk

Small Talk คืออะไร?

สิ่งหนึ่งที่เพื่อนชาวต่างชาติชอบถาม ว่าคนไทยทำไมไม่ค่อยพูด? คนไทยขี้อายหมดเลยเหรอ?  เวลาเจอกันใหม่ๆไม่ทักทายเท่าไหร่เลย ชอบอยู่เงียบๆในมุมของตัวเอง ปลีกวิเวก เรานี่ต้องอธิบายว่า ไม่จริงหรอก       คนไทยเป็นมิตรมาก ใจดี และก็ชอบสนุกสนาน แต่ที่เห็นเงียบๆนั้นอาจจะเป็นเพราะ ‘ความเกรงใจ’ หรือ ‘ความไม่รู้ว่าจะคุยอะไรดี’ บล้อคนี้จะมาพูดถึงวิธีวิธีเริ่มต้นบทสนทนาและตัวอย่างประโยคที่เรียกว่า Small Talk ที่เราจะสามารถ คุยกับคนแปลกหน้า โดยไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจค่ะ 🙂

ลองมาดู 3 วิธีการพูดกับคนแปลกหน้า (ฉบับย่อ)

1. Notice something pleasant

 

Notice Something Pleasant

ทักไปเลยสิ่งที่เราเห็นว่าดีรอบตัวของเรากับคู่สนทนาของเรา  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฝนฟ้าอากาศ เรื่องการแต่งกายของเขาที่เราชอบ เรื่องรูปร่าง ผิวพรรณ สิ่งที่เราสามารถเห็นได้ภายนอกและเราประทับใจ ตัวอย่างเช่น

วันนี้อากาศดีนะคะ ต่างหูที่ใส่น่ารักมาก หรือ ชอบทรงผมนี้จังเลยค่ะ รูปร่างแข็งแรงมากเลย เป็นคนที่ดูแลตัวเองมากๆเลยนะคะ 

สิ่งเหล่านี้ที่เราทัก พูดถึง หรือเรียกว่าการ break the ice เนี่ย ต้องมาจากความจริงใจภายใน เวลาที่เราพูดก็จะสื่อสารออกมาว่าเราพูด ความจริง ไม่ได้แค่ชมๆไปเพื่อให้เกิดบทสนทนา การพูดเรื่องจริง ในเรื่องที่ดีงาม เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากในการเริ่มต้นบทสนทนาที่มีคุณภาพ

  

2. Leverage commonality 

พูดถึงสิ่งที่มีเหมือนกัน

 

พูดถึงสิ่งที่มีเหมือนกัน เป็นเรื่องที่คล้ายกัน จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ได้ง่าย เช่น ทำงานด้านการมาเก็ตติ้งเหมือนกันเลยค่ะ อยู่ในวงการมานานหรือยังคะ หรือ ชอบทานเค้กร้านนี้เหมือนกันเลยค่ะ (เพราะเห็นเขาถือถุงเค้กร้านนั้น) ชีสเค้กดีมากเลยนะคะร้านนี้ เป็นต้น 

เรื่องราวที่เราทักไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องซีเรียส อาจจะเป็นเรื่องที่เราสังเกตเห็น ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้เราเป็นคนช่างสังเกตเพิ่มขึ้นอีกด้วย บางครั้งการมองออกมาและสังเกตคนรอบตัวเรา นอกจากทำให้เราเริ่มบทสนทนาอย่างไม่เคอะเขินแล้ว ยังเปิดโลกทัศน์ให้เราได้ใช้เวลากับสิ่งแวดล้อม มากกว่าจะอยู่แค่กับตัวเอง

 

3. Commiserate 

 

การแสดงความเห็นอกเห็นใจ มนุษ์เรา

การแสดงความเห็นอกเห็นใจ มนุษ์เรา โดยเฉพาะคนไทย เป็นมนุษย์ที่ขี้สงสาร และมีความเห็นอกเห็นใจคนอื่นอยู่แล้ว แต่บางครั้งเพราะเรา ‘คิดไปเอง’ ว่าคนอื่นเขาอาจจะหาว่าเราบ้า ถ้าเราไปบอกว่าเราเห็นอกเห็นใจเขา เหตุการณ์แบบรอคิวข้าวยาวเหลือเกิน หรือการติดฝนซึ่งช่วงนี้มีบ่อย เราอาจจะเริ่มได้ว่า แย่เลยนะคะวันนี้ ฝนหนักเลย แน่นอนว่าก่อนที่เราจะทักคนเรื่องแบบนี้ เราต้องดูสีหน้าท่าทางเขาด้วยว่า อยู่ในโหมดอารมณ์ไหน เขาพร้อมจะมีบทสนทนารึปล่าวแล้วเราค่อยเริ่มทำลายความเงียบ ความเกร็งตรงนั้น

การคุยกับคนแปลกหน้า หรือ ที่ฝรั่งชอบเรียกกันว่า small talk การพูดเล็กๆเนี่ย เป็นสเน่ห์อย่างหนึ่ง ที่เราสามารถสร้างให้เป็นทักษะที่เราทำได้โดยไม่เคอะเขิน เพราะนอกจากเราอาจจะได้มิตรภาพใหม่ๆโดยคาดไม่ถึง อาจจะรวมไปถึงโอกาสทางด้านงาน หรือ ธุรกิจที่ไม่เคยนึกถึงมาก่อนเช่นกัน ถ้าลองวิธีการนี้แล้วเป็นอย่างไร ลองมาเล่าให้พวกเราฟังด้วยนะคะ

 

 

Jirina K

5 สิ่งสำคัญที่คุณต้องมีเพื่อพูดภาษาอังกฤษได้ด้วยความมั่นใจ!

5 สิ่งสำคัญที่คุณต้องมีเพื่อพูดภาษาอังกฤษได้ด้วยความมั่นใจ!

เมื่อผมพบกับผู้เรียนครั้งแรก ผมไม่แปลกใจที่ผู้เรียนเกือบทุกคนเรียนภาษาอังกฤษมามากกว่า 10 ปีที่โรงเรียน แต่พวกเขายังพบว่าการพูดภาษานั้นยาก พวกเขารู้สึกว่าพวกเขาไม่มีคำพูดเพียงพอในการอธิบายความคิด ความรู้สึก และกลัวที่จะพูดผิดซึ่งทำให้ขายหน้าผู้อื่น

วิธีที่ง่ายที่สุดคือการหาโอกาสในการฝึกพูดภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น การพยายามพูดภาษาอังกฤษที่ไม่ถูกต้องและแม่นยำต้องใช้ความมั่นใจในตัวเองอย่างมาก คุณต้องรู้สึกสบายใจที่จะเป็นตัวเองและต้องเข้าใจว่าหากต้องการที่จะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นในเรื่องใด คุณต้องยอมรับที่จะเป็นคนที่ไม่สมบูรณ์แบบในตอนแรกก่อน เหมือนผมผู้ซึ่งพยายามพัฒนาภาษาไทยมาเกือบ 2 ปี แต่ในสถานการณ์ใหม่ๆ ผมยังคงมีความยากลำบากในการหาคำเพื่อแสดงออกในความคิดและความรู้สึก แต่ผมรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่โอเค คุณรู้ไหมว่าทำไม? เพราะว่าผมมีความเชื่อมั่นในตัวเองที่จะดูเหมือนคนโง่ในการสนทนาแต่ผมก็ไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนโง่

ในโพสต์นี้ ผมจะแบ่งปัน 5 กลยุทธ์หลักเพื่อเสริมความเชื่อมั่นในการพูดภาษาอังกฤษ:

   1. เหตุผลที่ชัดเจน (A STRONG WHY)

 

มีคำพูดที่น่าจะได้ยินกันบ่อย ว่า

 “ถ้าเหตุผลว่าทำไมคุณต้องทำสิ่งนี้ของคุณมีพลังมากพอ คุณก็จะค้นพบวิธีการ!” – Bill Walsh 

ผมมีเหตุผลที่แข็งแกร่ง 3 ข้อในการพัฒนาความความสามารถในการพูดภาษาไทยของผม: เพื่อเข้าใจผู้เรียนของผมที่เป็นคนไทยอย่างลึกซึ้ง เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับพวกเขา และเพื่อความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ในวันที่ผมขาดแรงจูงใจหรือรู้สึกขี้เกียจ เหตุผล 3 ข้อนี้ช่วยผลักดันผมให้ออกจากความขี้เกียจ

หากคุณต้องการค้นหาเหตุผลที่ทำไมคุณต้องพัฒนาภาษาอังกฤษ ลองตอบคำถามเหล่านี้:

  • เหตุผลที่การพัฒนาภาษาอังกฤษมีความสำคัญกับฉันคืออะไร?
  • การพัฒนาจะสร้างโอกาสให้กับอนาคตของฉันอย่างไร?
  • ความสำเร็จของฉันในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจะมีผลต่อคนรอบข้างฉันเช่นพ่อแม่พี่น้องญาติและเพื่อนและชุมชนอย่างไร?    

คำตอบว่าทำไมคุณต้องทำคือ พื้นฐานของความสำเร็จ. นี่คือวิดีโอสั้นๆ ที่ดีมากๆของ Simon Sinek อธิบายวิธีการค้นหาเหตุผลของคุณ

 

 
2.  วิธีการ (ด้วยหลักการเรียนรู้ภาษาที่ชัดเจน)

Luca Lampariello ชาวอิตาลีที่พูดได้หลายภาษา เช่น อังกฤษ ดัตช์ สวีเดน จีน รัสเซีย เยอรมัน ฝรั่งเศส ฮังการี และแน่นอนอิตาลี เขาแชร์สิ่งที่สำคัญ 7 ข้อที่คุณควรมีไว้ในการเรียนภาษาของคุณ 

language learning principles

 

   3. ผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถแนะนำทางด้านภาษา

 

ผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถแนะนำทางด้านภาษา

ผมโชคดีที่มีแม่ภรรยาที่เป็นคนใจดีที่ช่วยผมเรื่องภาษาไทย คุณแม่ฟังการพูดภาษาไทยที่ไม่ได้สมบูรณ์ และไม่ตัดบทผม หรือแก้ไขข้อผิดพลาดตอนผมกำลังพูด แม้ว่าผมจะพูดผิดบ้าง คุณแม่ช่วยผมในการตรวจและแก้ไขข้อความที่ผมเขียน และเธอก็ใจเย็นมากเมื่อเราพูดถึงหัวข้อต่างๆ เป็นประจำทุกวันธรรมดา

หาผู้แนะนำภาษาอังกฤษที่ไม่ใช่แค่รู้จักภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือเขาต้อง:

  • ฟังคุณอย่างใจเย็น
  • ไม่ขัดจังหวะหรือแก้คำพูดของคุณเมื่อคุณกำลังพูด
  • พยายามเข้าใจความคิดหลักของคุณ
  • ช่วยคุณตรวจและแก้ข้อความที่คุณเขียน
  • เปิดกว้างต่อความคิดที่แตกต่าง

 

  4. การมีกิจวัตรประจำ

 

การมีกิจวัตรประจำหากคุณเคยลงทุนเพื่อผลระยะยาว คุณต้องรู้ถึงประโยชน์ของการสะสม หากคุณฝึกภาษาอังกฤษทุกวัน แม้แค่ 15 นาทีต่อครั้ง ผลของการสะสมนี้จะส่งผลอย่างมีนัยยสำคัญ

กิจวัตรการเรียนรู้ของผมประกอบด้วยการฟังและฝึกเขียนเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงทุกเช้า 15 นาทีของการฝึกพูดในช่วงบ่าย และ 15 นาทีของการอ่านนิทานเด็กในช่วงก่อนนอน

ผู้เรียนของเรามีโอกาสติดต่อกับเราเกือบทุกวันผ่านการโทรหากันด้วย LINE, การคุยผ่าน Zoom และการประชุมกลุ่ม โดยที่พวกเขาจะได้ใช้ภาษาเรื่อยๆ ยิ่งคุณใช้เวลากับภาษามากขึ้น คุณจะเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

ขอผมเล่าเรื่องจิตวิทยาสื่อประสาทที่น่าสนใจสักนิด: สมองของเรามีสองส่วน: ส่วนซ้ายและส่วนขวา ส่วนซ้ายสำหรับสิ่งที่ทำซ้ำ เช่น กิจวัตรประจำวัน ส่วนขวาเป็นส่วนสำหรับไอเดียและการทำสิ่งใหม่ๆ จะเป็นการดีมากถ้าเราเปลี่ยนสิ่งที่ทำใหม่ๆจนกลายเป็นกิจวัตร สมองส่วนขวาของเราจะพยายามค้นหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อจะเปลี่ยนมันเป็นกิจวัตร นี่คือวิธีที่สมองของเราสามารถเรียนรู้และสร้างสรรค์มากขึ้นทุกวัน

  5. ทรัพยากรที่มีประโยชน์

ในความเห็นของผม แหล่งข้อมูลหลักของคุณไม่ควรมาจากเว็บไซต์ พอดคาสต์หรือโซเชียลมีเดียที่พยายามสอนคำศัพท์ขั้นสูง, แสลง หรือ กฏไวยากรณ์ คุณควรเลือกสิ่งที่คุณจะสนุกกับหากมันเป็นภาษาของคุณ

ตัวอย่างเช่น ผมฟัง podcast ภาษาไทยที่ชื่อ ‘5 MINUTES’ โดย Rawit Hanutsaha เขาเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาตนเองทั้งระดับบุคคลและระดับการงาน ซึ่งผมชอบมากๆ

นี่คือเว็บไซต์ 3 เว็ปที่ผมแนะนำให้ผู้เรียนของผม:

  1. เรียนภาษาอังกฤษผ่านเรื่องราว: หากคุณชอบการอ่านหรือฟังเรื่องราว เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับคุณ เรื่องราวทั้งหมดถูกแบ่งตามระดับความเชี่ยวชาญภาษา
  2. YouGlish: ทุกครั้งที่คุณไม่แน่ใจในการออกเสียงหรือการใช้คำนี้ ให้ใส่คำในกล่องค้นหาของเว็บไซต์นี้และคุณจะได้รับตัวอย่างการออกเสียงและการใช้งานของคำนี้เป็นร้อยๆ ตัวอย่าง
  3. OpenAI: CHAT GPT สามารถเป็นครูของคุณ ในกรณีที่คุณต้องการตรวจสอบความถูกต้องของข้อความ ใช้คำสั่งนี้ทำหน้าที่เป็นครูภาษาอังกฤษ ตรวจสอบข้อความ

 

ผมกล้าพูดเลยว่า ถ้าคนต่างชาติไม่ว่าชาติไหน หยุดผู้เรียนของผมเพื่อขอความช่วยเหลือ พวกเขาสามารถตอบด้วยความมั่นใจ มันเป็นความรู้สึกที่ดีมากที่เห็นพวกเขาเติบโตในความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษและรู้สึกมั่นใจมากขึ้น ด้วยการฝึกซ้อมและการกำหนดเป้าหมาย คุณก็สามารถบรรลุระดับความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษเหมือนกัน พยายามต่อไปและจำไว้ว่าทุกบทสนทนาช่วยให้คุณพัฒนายิ่งขึ้นครับ

 

 

Jirina K

Girish M 

 

ภาษาอังกฤษสำหรับการตลาดดิจิตอล: พ็อดแคสต์ 3 เรื่องราวที่น่าสนใจสำหรับนักการตลาดดิจิตอล

ภาษาอังกฤษสำหรับการตลาดดิจิตอล: พ็อดแคสต์ 3 เรื่องราวที่น่าสนใจสำหรับนักการตลาดดิจิตอล

นี่คือพ็อดแคสต์สามเรื่องราวที่น่าสนใจมาก (เป็นภาษาอังกฤษ) สำหรับนักการตลาดดิจิตอล ผมได้จัดเรียงเรื่องราวเหล่านี้ตามความยากขึ้นของภาษาและประสบการณ์ในการตลาดดิจิตอล

 

Marketing School Podcast image

Title: Marketing School – Digital Marketing and Online Marketing Tips 

Hosts: Neil Patel and Eric Siu

 

 

 

 

 

Description:

  • สำรวจหัวข้อที่หลากหลาย ตั้งแต่ SEO, การตลาดเนื้อหา, สื่อโซเชียล, การตลาดทางอีเมล และอื่น ๆ
  • เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นและนักการตลาดระดับกลาง
  • มีความรู้สึกสนุกและสนทนาได้อย่างเป็นกันเอง
  • มีความยาว 5 ถึง 10 นาที
  • มีสไตล์ที่น่าสนใจและสนทนาของเจ้าของช่อง
  • มีสำเนียงและวลีที่ใช้บ่อยมากๆ

 

Title: The GaryVee Audio Experience

Host: Gary Vaynerchuk (GaryVee)

 

 

 

 

 

Description:

  • เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ผ่านการตลาดบนสื่อ
  • เหมาะสำหรับคนที่มีวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ
  • มีพลังงานและแรงบันดาลใจสูง
  • เรื่องราวเฉพาะตัวของเกอรี่ ความคิดเห็นที่ไม่ซ้ำใคร และกลยุทธ์ของเขา
  • มีความยาวตั้งแต่ 15 นาทีถึง 1 ชั่วโมง
  • มีสำเนียงและวลีที่ใช้บ่อย รวมถึงคำศัพท์ทางการตลาด (ใช้คำหยาบบ่อย) 😂

 

Title: The Digital Marketing Podcast

Hosts: Ciaran Rogers, Daniel Rowles and Louise Crossley  

 

 

 

 

 

Description:

  • สำรวจหัวข้อที่หลากหลายตั้งแต่ SEO และ PPC ไปจนถึงการวิเคราะห์ การตลาดทางอีเมล และอื่น ๆ
  • เหมาะสำหรับนักการตลาดที่มีประสบการณ์ทำงาน
  • ตอนมีความยาวปกติ 30 นาที
  • การศึกษาเคสในชีวิตจริงและเรื่องราวความสำเร็จ
  • มีสำเนียงและวลีที่ใช้บ่อยเป็นสุด

 

นี่คือตัวอย่างเท่านั้น หาก 3 ตัวอย่างด้านบนไม่เพียงพvกับความต้องการของคุณ ลองดูเพิ่มครับ 😂

Pat Flynn: The Smart Passive Income Podcast
Ezra Firestone: The Smart Marketer Podcast
Joe Pulizzi: Content Inc.
Amy Porterfield: Online Marketing Made Easy
John Jantsch: Duct Tape Marketing
Andrew Warner: Mixergy
Michael Stelzner: Social Media Marketing Podcast
Brian Clark: Unemployable

Enjoy! 🦚

 

Girish M 

เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
เพื่อใช้ในการทำงาน

 – ภาคต่อ

เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
เพื่อใช้ในการทำงาน

 – ภาคต่อ

ช่วงที่ 2

ครูได้มีการสรุปเนื้อหาที่ฉันได้เรียนไปทั้งหมด ฉันตกใจเป็นอย่างมาก เพราะฉันได้เรียนรู้หลักไวยากรณ์ที่เยอะมากๆ ที่เหนือความคาดหมายว่าฉันจะได้เรียนเยอะขนาดนี้ รวมถึงคลังคำศัพท์ที่สามารถนำมาใช้ในทั้งชีวิตประจำวันและการทำงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าฉันยังขาดและต้องฝึกฝนอีกมาก แต่กระนั้นก็ดีเมื่อถึงเวลาที่ต้องพูด ฉันก็ยังค้นพบว่าตัวฉันเองยังคงที่จะพูดติดๆขัดๆอยู่ เพราะขาดสิ่งที่สำคัญในการพูด คือ ความมั่นใจ และการกลัวที่จะพูดเพราะเครียดกับไวยากรณ์มากเกินไป จนทำให้การพูดของฉันไม่รื่นหูเท่าที่ควร

 

ในช่วงนี้ครูจึงมีการปรับรูปแบบในการเรียน และมีการค้นคว้าวิธีร่วมกันที่จะทำให้ฉันได้ฝึกการพูดที่มากขึ้น ในขณะเดียวกันต้องทำให้ฉันคุ้นเคยกับการวางรูปแบบการเขียนที่ถูกหลักไวยากรณ์ จึงเป็นที่มาของการเพิ่มหลักสูตรอีกขั้น คือทำคลิปวิดีโอพูดที่มากขึ้นในหัวข้อต่างๆ การอ่านหนังสือและแชร์ความคิด รวมถึงการพูดคุยแบบกลุ่ม (group call)
การทำคลิปวิดีโอแชร์ความคิดเห็นนั้นเป็นสิ่งที่ท้าทาย แต่มีประโยชน์กับฉันมาก เพราะมันทำให้ฉันได้ฝึกการพูดหลายๆครั้งก่อนที่จะส่งครู เพื่อให้ออกมาได้ราบรื่นมากที่สุด จนทำให้สามารถซึมซับความคุ้นชินในการที่ต้องพูดภาษาอังกฤษ ครูมักย้ำเสมอให้พยายามนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาใช้ และไม่ต้องกังวลในเรื่องไวยากรณ์มากนัก เพราะอย่างน้อยหากสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้ นั่นคือดีมากๆแล้ว ซึ่งการส่งคลิปไปในแต่ละครั้ง ก็จะมีการมา review ตัวคลิปเพื่อมาปรับแก้ในส่วนที่ผิด เพื่อให้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้องในครั้งต่อไปได้ ชั้นทำเรื่อยๆอยู่หลายคลิป จนค้นพบว่าการพูดของฉันดีขึ้นเป็นลำดับ เข้าใจกลไลในการพูดมากขึ้น

 

การอ่านหนังสือ เป็นสิ่งที่เกินความคาดหมายสำหรับฉัน เพราะฉันเป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือเลย และคิดว่าทุกคนก็คงจะเป็นเหมือนกัน แต่หากว่าฉันได้ค้นพบความสำคัญ เพราะระหว่างที่เราอ่าน ต่อให้เราไม่สามารถที่จะแปลได้ทุกคำ แต่อย่างน้อยมันจะทำให้เราได้ซึมซับหลักไวยากรณ์ที่ native speakerใช้เขียน ฉันได้ใช้ระยะเวลาประมาณ 10-15 นาทีก่อนนอนหรือช่วงที่มีเวลาอยู่กับตัวเอง เพียงประมาณวันละ 1-3 หน้าต่อวันเท่านั้น และสิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ ฉันสามารถพูดและพิมพ์โดยใช้โครงสร้างที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้ดีขึ้น จากการอ่านหนังสือ

 

การพูดคุยแบบกลุ่มโดยมีการคุยสัปดาห์ละครั้งกับนักเรียนท่านอื่นๆเพื่อให้เราได้คุ้นเคยกับการสื่อสารภาษาอังกฤษกับคนแปลกหน้ามากขึ้นเหมือนเป็นการจำลองสถานการณ์ที่เราต้องพูดคุยสื่อสารกับคนอื่นที่ไม่ใช่ครูที่เราเริ่มมีความสนิทสนมกันแล้วโดยจะมีการสับเวียนหัวข้อและแลกเปลี่ยนความคิดกันฉันได้ประสบการณ์ทั้งในด้านภาษาอังกฤษและแนวคิดหลากหลายซึ่งถือว่าเป็นการเปิดมุมมองในเรื่องต่างๆได้อย่างดี

 

สรุปในช่วงที่ 2 นี้ฉันมีพัฒนาการในด้านการพูดภาษาอังกฤษอย่างดีขึ้นเรื่อยๆอย่างเห็นได้ชัดเพราะครูจะมีการสรุปเป็นคลิปภาพรวมการเรียนของฉันเปรียบเทียบในแต่ละเดือนทำให้ฉันภูมิใจในตัวเองว่าพัฒนามาได้เยอะเลยทีเดียวในขณะเดียวกันฉันมีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นในการกล้าที่จะพูดโดยที่ไม่กลัวผิดและปรับองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาใช้ในการพูดภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้นและนำภาษาอังกฤษไปใช้ในการ present งานหรือสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้น

 

ช่วงปัจจุบัน

ในหลักสูตรรอบนี้ฉันได้เน้นการฝึกอีกอย่างที่สำคัญมากเหมือนกันคือเรื่องของการพูดให้เป็นสำเนียง native มากขึ้นการเน้นลงเสียงในแต่ละคำให้ถูกต้องโดยการเลือกคลิปมาแล้วบันทึกเสียงเพื่อให้เราได้เข้าใจและสามารถจดจำการเน้นเสียงหนัก-เบาการเว้นช่วงการใส่อารมณ์ลงไปในแต่ละคำเพื่อให้เวลาพูดดูเป็นธรรมชาติและน่าฟังมากยิ่งขึ้นพร้อมกับการที่ฉันได้ฝึกการฟังมากขึ้นโดยครูจะมีการให้ฉันได้ฟัง podcast ที่เป็น native speaker พูดคุยในหัวข้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเนื้องานของฉันหรือเรื่องที่น่าสนใจมันทำให้ฉันได้ฝึกการฟังพร้อมกับแลกเปลี่ยนความคิดเพราะการที่เราจะพูดได้ดีนั้นต้องใช้การพูดบ่อยๆใช้การฟังเพื่อให้เราได้ซึมซับคำพูดของเจ้าของภาษาและใช้การเขียนเพื่อให้สมองของเราประมวลมีเวลาคิดวิเคราะห์หลักไวยากรณ์ฉันขออธิบายในแง่ของความสำคัญในแต่ละศาสตร์เป็นภาพดังนี้ว่าแต่ละศาสตร์ส่งเสริมกันอย่างไร

 

pastedGraphic.png

 

จากการเรียนภาาอังกฤษในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ฉันได้เรียนรู้ว่าแต่ละศาสตร์เป็นเหมือนจิ๊กซอว์ที่ส่งเสริมกันและกัน ขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปไม่ได้

การพูด

ถ้าฉันอยากพูดภาษาอังกฤษได้ดี ฉันต้องพูดบ่อยๆ พูดให้ชิน พยายามสื่อสารและอยู่กับมัน ให้ภาษาอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของฉัน โดยที่ไม่ต้องกลัวว่าจะผิด การอ่านออกเสียงให้ถูก เน้นเสียงหนักเบา และที่สำคัญในการฝึกพูดให้ถูกคือคนต่างชาติได้เข้าใจในคำที่ฉันต้องการจะสื่อจริงๆ เพราะคำบางคำเสียงคล้ายกันมาก ถ้าเราออกเสียงผิด ความหมายของสิ่งที่จะสื่อก็จะเปลี่ยนไปในทันที

 

การอ่าน

อย่างที่บอกไปในข้างต้นว่าฉันไม่ชอบอ่านหนังสือ และคิดว่าเป็นสิ่งที่ไกลตัวจากความชอบของฉัน แต่ฉันอยากจะบอกกับทุกคนว่าการอ่านยิ่งเฉพาะเวลาที่เราตั้งใจ อยู่กับตัวเองและความเงียบ มันช่วยให้สมองของเราประมวลและซึมซับหลักไวยากรณ์และคำศัพท์ต่างๆได้ ซึ่งเรื่องนี้สำคัญมากๆ ยิ่งเราจำและใช้คำศัพท์ได้เยอะมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งให้เราสามารถที่จะอธิบายและสื่อสารได้อย่างชัดเจนมากและตรงไปตรงมามากยิ่งขึ้น จากคลังคำศัพท์ในสมองของเรา โดยเราอาจจะอ่านอะไรก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือ ลองเริ่มจากสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่เราสนใจเพื่อให้เราสามารถทำมันได้บ่อยๆ เช่น การดูหนัง เปลี่ยนจากซับไทย ลองเปลี่ยนเป็นซับภาษาอังกฤษเพื่อให้เราได้ฝึกการอ่านและความบันเทิงไปในตัว

 

การฟัง

ยิ่งเราฟังมากเท่าไหร่ ภาษาอังกฤษเราจะยิ่งพัฒนาพัฒนามากยิ่งขึ้น เพราะการที่เราจะพูดให้ดีได้ เราต้องฟังให้ชัดว่าผู้ส่งสารต้องการจะพูดอะไร เพื่อให้เราสามารถตอบ หรือสื่อสารกลับไปได้อย่างถูก ทำให้เราไม่เป็นคนที่พูดไปเรื่อย ตอบไม่ตรงคำถาม ในศาสตร์นี้จะเป้นตัวช่วยให้เราได้มีความคุ้นเคยกับการพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น

 

การเขียน

ในส่วนนี้ หลายๆคนอาจจะมองว่าไม่ค่อยเกี่ยวข้องกัน แต่สำหรับฉันกลับมองว่า ในการเขียนเป็นช่วงเวลาที่ฉันได้ใช้ความคิดมากที่สุดและนานที่สุด ได้มีเวลาทบทวนหลักไวยากรณ์ การไล่เรียงลำดับความสำคัญ เหตุการณ์ต่างๆ ก่อนที่จะนำส่งสารออกไป มีการทบทวน อาจจะเป็นการอ่านในใจ เพื่อรีเช็คว่าเราสื่อสารได้ชัดเจนและถูกหรือไม่ ตรงนี้เป็นการช่วยให้เวลาที่เราพูดนั้น เราสามารถนำสิ่งที่สมองเราได้ทำการประมวลมาใช้ให้ถูกหลักไวยากรณ์มากขึ้น
มาถึงจุดนี้แล้วว่าการเดินทางในด้านการพัฒนาภาษาอังกฤษคงไม่จบแค่นี้ เพราะจริงๆแล้วการเรียนภาษาอังกฤษนั้น สิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือ ตัวฉันเอง ที่ต้องเป็นส่วนหนึ่งกับภาษาอังกฤษ การที่จะได้ผลชัดเจนมากน้อยไม่ได้ขึ้นว่าเราเรียนเยอะแค่ไหน แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้บ่อย เป็นประจำมากแค่ไหน และสิ่งที่จะพิสูจน์ว่าเราเดินมาได้ถูกทางแล้วก็คือ เราได้นำสิ่งที่เราเรียนไปต่อยอด ไปใช้ในชีวิตจริงๆ ทั้งในเรื่องส่วนตัว และในเรื่องของการทำงาน การที่เรากล้าจะพูดออกมาในสิ่งที่เราคิด ไม่กลัวที่จะสื่อสารผิด หรือแสดงความคิดเห็น และผู้รับสารเข้าใจ ถึงจะไม่ถูกหลักไวยากรณ์ 100% แต่เป็น small wins ที่อย่างน้อยเราเอาชนะใจตัวเองได้ ส่วนในเรื่องความผิดถูกนั้นต้องใช้การฝึกฝนไปเรื่อยๆ แล้วทุกอย่างมันจะต้องดีขึ้นเพราะเราพยายามนั่นเอง

 

ประสบการณ์ที่ฉันได้เรียนภาษาอังกฤษเป็นเหมือนการเปิดโลกของฉันเป็นอย่างมากเคยคิดว่าไว้ก่อนยังไม่จำเป็นไว้มีโอกาสดีๆค่อยเรียนก็ได้แต่เมื่อได้ลองเรียนแล้วฉันยิ่งเข้าใจตัวเองได้อย่างชัดเจนว่าฉันตัดสินใจถูกและมองเห็นตัวเองว่าฉันขาดอะไรฉันต้องปรับปรุงอะไรฉันต้องพัฒนาในส่วนไหนเพื่อให้เป็นคนที่เก่งขึ้นและมั่นใจที่จะได้สามารถโชว์ศักยภาพในการทำงานได้อย่างเต็มที่โดยเฉพาะการเรียนในลักษณะ Private learning ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของฉันที่เป็นมนุษย์ทำงานมากที่สุดและฉันอยากสรุปสิ่งที่ฉันได้รับจากการเรียนภาษาอังกฤษที่มากกว่าการเรียนเพื่อเป็นประโยชน์กับทุกคนว่า

 

ตัวเราเอง : การที่จะเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ผลลัพธ์มากที่สุด สิ่งที่สำคัญนอกเหนือจากครูผู้สอนที่พยายามถ่ายทอดสิ่งต่างๆให้เราแล้วนั้น คือ ตัวเราเอง ครูเป็นเหมือนเข็มทิศ ส่วนเราเป็นคนที่เดินไปตามเข็มทิศนั้น เราต้องร่วมมือกับครูในการฝึกฝน พยายามพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นในทุกวัน ใช้บ่อยๆ พูดบ่อยๆ พยายามทำให้ภาษาอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งของเราให้ได้ ใช้ทุกศาสตร์ให้เป็น ecosystem ส่วนไหนที่เราไม่เก่ง เราก็พยายามเน้นที่จุดนั้นให้มากๆ สำหรับคนที่ทำงานแบบฉันแล้วนั้นพยายามใช้มันบ่อยๆ พยายามพูดคุยสื่อสารกับเพื่อนต่างชาติ และใช้เนื้องานที่เราทำอยู่มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ อาทิ ข่าวสารของบริษัท อัพเดทข้อมูลบริษัท เป็นต้น คือเราอาจจะใช้ระยะเวลากับมันในการอ่าน ทำความเข้าใจ เพื่อให้เราได้ฝึกภาษาอังกฤในที่ทำงานและนำคำที่เราสนใจและอยากใช้มาต่อยอดในการพูดได้อีกด้วย

 

ความมั่นใจ : ในช่วงที่ฉันเรียน สิ่งที่ฉุดรั้งให้ฉันพูดติดๆขัด คือความไม่มั่นใจ กลัวผิด กลัวไม่เป๊ะ เลยทำให้การพูดของฉันไม่ราบรื่น และฉันคิดว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่นักเรียนไทย หรือคนไทยที่อยากจะพูดภาษาอังกฤษติดอยู่กับปมตรงนี้เช่นเดียวกันกับฉัน แต่เมื่อถึงจุดที่ฉันได้ทำลายกำแพงของความกลัวไปได้แล้ว ฉันก็รับรู้ได้ว่าศักยภาพของฉันมันได้ถูกฟูมฟักและพัฒนาขึ้นได้อย่างเต็มที่ และได้เห็นออกมาเป็นรูปธรรม คือการพูดที่คล่องมากขึ้น ไม่ติดคำว่า “เอ่อ” “อื่อ” “อืมมม” “นึกไม่ออก” แต่เป็นการใช้วลีที่ช่วยให้ฉันได้มีเวลาคิดได้มากขึ้น ซึ่งทำให้การพูดของฉันดูเป็นธรรมชาติและมีความมั่นใจมากขึ้น

 

ความกล้าที่จะลอง : ในระหว่างที่ฉันเรียน ฉันพยายามที่จะใช้โครงสร้างไวยากรณ์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นทั้งในด้านการพูดและการเขียน รวมถึงการลองใช้ศัพท์ยากๆ การผสมคำต่างๆ adverbs adjectives ที่ฉันได้เรียนรู้มาจากการเรียน การอ่านหนังสือ หรือการฟัง podcast มาใช้ อาจจะมีผิดๆถูกๆ แต่ก็เป็นการผิดที่ทำให้ครูได้รับรู้ เข้าใจและพัฒนาต่อยอดไปได้อีกขั้น จากคลังความรู้และประสบการณ์ของฉันที่มีได้ด้วย

 

การฝึกฝน : การทำการบ้านที่ครูได้มอบหมายให้ฉันได้ทำ ไม่ว่าจะเป็นการส่งบันทึกเสียง การส่งวิดีโอ การเขียน การฟัง podcast ฯลฯ เป็นต้น คือการฝึกฝนภาษาอังกฤษได้อย่างดีมากๆ ช่วยได้เยอะมากๆจริงๆ ยิ่งทำบ่อยๆ ไม่ใช่แค่การบ้านแต่เป็นการฝึกใช้ จะเป็นน้ำมันหล่อลื่นที่ช่วยให้ภาษาอังกฤษเราแข็งแรงมากขึ้น

 

การถาม : ในส่วนนี้คือสิ่งที่สำคัญมากอีกหนึ่งสิ่งในการเรียนคือ ไม่ว่าจะเป็นเราได้เรียนรู้อะไร หากไม่มั่นใจ คือควรถามทันที เพราะหากปล่อยไปสิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นคือการลืม ดังนั้นการถามบ่อยๆ จะช่วยตอกย้ำความเข้าใจของเรา และครูจะได้เข้าใจว่าเราคิดถูกหรือผิด นอกเหนือจากนี้การถามจะช่วยให้เราเปลี่ยนโครงสร้างจากการที่เป็นคนคอยตอบ ให้เป็นผู้ถามหรือผู้ที่เริ่มบทสนทนา ตรงนี้เป็นกลยุทธ์ที่ฉันพยายามฉันเพื่อฝึกในสิ่งที่ฉันไม่มั่นใจ คือการถามคำถามเป็นภาษาอังกฤษ เพราะการสนทนาภาษาอังกฤษให้ดี ไหลรื่นสำหรับคนที่สนทนากับเราคือต้องเป็นฟัง คนพูด และเป็นคนถามด้วยเช่นกัน

 

ฉันหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนโดยเฉพาะคนที่เป็นวัยทำงานเหมือนกับฉัน การไม่มีเวลา อายุที่มากขึ้น ไม่ใช่เงื่อนไขที่ทำให้เราไม่สามารถเรียนภาษาอังกฤษได้ และฉันมั่นใจว่าการที่เราสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงาน จะเป็นประตูบานสำคัญที่ช่วยเปิดทางให้เราได้เจอโอกาสที่ดีขึ้นอีกมาก

 

 

 

Porntipa Vongsakda

เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
เพื่อใช้ในการทำงาน

  – ภาค 1

เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
เพื่อใช้ในการทำงาน

 – ภาค 1

สวัสดีค่ะทุกคนที่ได้อ่านบล็อคนี้ วันนี้ฉันจะมาแชร์ บอกเล่าเรื่องราวและประสบการณ์ในการเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์แบบ“ส่วนตัว” และ “ครั้งแรก”ในชีวิต ก่อนอื่นฉันขอเท้าความว่าฉันอายุ 28 ปี ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานในสาย Digital Marketing ตั้งแต่เรียนจบ ส่วนมากจะทำงานในบริษัท องค์กรที่เป็นที่รู้จัก รวมไปถึงองค์กรต่างชาติด้วย แต่ทุกคนอาจจะสงสัยว่าทำไมทำงานในบริษัทต่างชาติ แล้วทำไมยังต้องการที่จะเรียนภาษาอังกฤษเพิ่ม? เหตุผลก็เพราะว่า “ไม่ได้ใช้ทุกวัน”ลองนึกภาพว่าเราใช้ภาษาอังกฤษในการพูดมากที่สุดตอนไหน ก็คงจะเป็นการสัมภาษณ์งาน ในด้านของการทำงานจริงๆแล้ว ร้อยละ 80 ใช้ในการส่งเมลล์ หรือพิมพ์แชท แต่แทบจะไม่ได้พูดเลย ฉันจะใช้เวลากับภาษาอังกฤษเพียงฉาบฉวยเพียงแค่เฉพาะเวลาทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์เท่านั้น นอกเหนือไปจากนี้ การสื่อสารทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน โดยส่วนตัวมองแตกต่างจากการพูดในการทำงาน เพราะการสื่อสารในที่ทำงานมีเรื่องของหลักการพูด และเรื่องคำศัพท์ทางเทคนิคเข้ามาเกี่ยวข้อง มีรูปแบบในการพูดที่ต่างออกไปจากการพูดปกติ และหากว่าคุณต้องการที่จะเป็นที่ยอมรับ หรือ ต้องการดู perfessional แล้วนั้นการพูดคล่อง มีความมั่นใจ ใช้คำศัพท์ได้หลากหลาย โดยที่ถูกไวยากรณ์แล้วด้วยนั้นคือเรื่องสำคัญสำหรับมากเลยทีเดียว

 

เป้าหมายที่ฉันต้องการอยากเรียนภาษาอังกฤษ เพราะฉันพูดไม่คล่อง ไม่มั่นใจ ไวยการณ์ผิดๆถูกๆ จนรู้สึกว่าต้องการพัฒนาศักยภาพในด้านนี้ และฉันคิดว่าคนส่วนมากอาจจะมีปัญหาที่คล้ายกับฉันคือ เมื่อเวลาประชุมที่ต้องแสดงความคิดเห็น เราอยากจะพูด แต่เราไม่มั่นใจ เพราะกลัวพูดผิด เลยทำให้เราเลือกที่จะเงียบ แต่กระนั้นสิ่งที่ฉันคิด มันเป็นเพียงเหมือนน้ำแข็งที่ผุดขึ้นมาบนน้ำเท่านั้น เพราะฉันค้นพบว่าการที่พูดให้คล่องได้นั้น ไม่ใช่แค่เรื่องการพูดเพียงอย่างเดียว ต้องผสมผสานศาสตร์ต่างๆเข้าด้วยกัน ซึ่งฉันจะอธิบายให้ทุกคนได้เห็นภาพจากประสบการณ์ของฉัน แต่ก่อนอื่นฉันจะอธิบายการเรียนภาษาอังกฤษให้ทุกคนได้อ่านแบบคร่าวๆ เพื่อให้เข้าใจว่าฉันได้เจอ และเรียนรู้กับอะไรตลอดการเรียนทั้งหมดที่ผ่านมา ดังนี้

 

ฉันได้เรียนภาษาอังกฤษแบบส่วนตัวเป็นระยะเวลาประมาณเกือบๆ 7 เดือนแล้ว หลายคนคงจะรู้สึกว่าเรียนนานมาก แต่สำหรับฉันเวลาผ่านไปไวมาก ฉันสนุกกับการเรียน enjoyไปกับสิ่งที่ครูมอบหมายให้ทำ ให้ฝึก เพราะการเรียนจะมีทั้งทฤษฎี ปฏิบัติ มีเป็นกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อเลย ซึ่งฉันจะแบ่งช่วงการเรียนของฉันออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงที่ 1, 2 และปัจจุบัน

 

ช่วงที่ 1

ในการเรียน 2 เดือนแรกของฉัน ภาพรวมคือเป็นช่วงที่น่าตื่นเต้นมากๆ ทั้งได้เรียนรู้สิ่งต่างๆที่เราเข้าใจผิด หรือลืม เรียกได้ว่าเป็นการปูและปรับพื้นฐานของฉันทั้งหมด ทั้งการลองพูด ลองเขียนตามหัวข้อต่างๆ จากนั้นครูก็จะมีการมาปรับแก้ และอธิบายในแต่ละไวยากรณ์ที่เราผิด นอกเหนือจากการเรียนรู้ในข้างต้นนี้ฉันได้เจอกับความท้าทายระหว่างช่วงที่เรียน คือบริหารจัดการเวลา ทั้งในเรื่องความเหนื่อยล้าจากการทำงาน การเดินทาง การดูแลตัวเอง เช่น การออกกำลังกาย เวลาของฉันค่อนข้างที่จะรัดตัวมาก มนุษย์เงินเดือนที่ทำงานตั้งแต่เช้าถึงเย็น ยิ่งสะสมความเหนื่อยล้า แต่โชคดีมากคือระหว่างเรียนฉันสามารถเลือกและปรับเวลาการเรียนให้ตอบโจทย์และเข้ากับชีวิตประจำวันของตัวเองได้ตลอด โดยฉันเลือกที่จะเรียนแบบวิดีโอ 3 วัน และพูดคุยผ่านทางไลน์ 3 วัน ในช่วงหลังเลิกงาน และพัก 1-2 วัน

 

เมื่อเจาะลึกถึงรายละเอียดเนื้อหาในการเรียนนั้นแบบวิดีโอนั้น ครูจะมีการสอบถามเกี่ยวกับ Background ในการทำงานทั้งหมดและงานปัจจุบัน เพื่อให้เนื้อหาในการที่ฉันต้องพูดมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของงาน และสามารถนำเอาไปใช้ในชีวิตจริงในการทำงานได้ และปัญหาที่พบได้หลักๆ คือเรื่อง การพูดที่ติดขัดมากๆ ในช่วง 2 เดือนแรกของฉันใช้ “เอ่อ” “คำว่าอะไรนะ” “อืม” บ่อยมากๆ เพราะเวลาที่ต้องพูดจริงๆ ฉันนึกคำไม่ออกเลย และนอกจากนี้ยังมีในเรื่องของการพูดที่ผิดไวยากรณ์ การเขียนก็ผิดไวยากรณ์ การอ่านก็ออกเสียงแบบผิดๆ คือครบแทบทุกอย่าง

 

ส่วนในการคุยไลน์นั้นส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์มาก ที่จะฝึกให้ฉันได้ฟังและพูดให้คล่องขึ้น เนื้อหามีหลากหลายมากทั้งบอกเล่าเรื่องราวชีวิตประจำวัน หรือเอาบทความ หรือเนื้อหาจากวิดีโอใน youtube ที่เกี่ยวข้องกับงานมาแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกัน ผสมผสานกับการบอกเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวันเข้าด้วยกัน ระหว่างที่พูด ครูจะมีการจดบันทึกสิ่งที่ฉันพลาดทุกครั้ง เพื่อมาแก้ไขและอธิบายเวลาเรียนแบบวิดีโิอนั่นเอง ในแต่ละวันฉันจะได้การบ้านมาทำ เพื่อเป็นการรีเช็คความรู้ของฉันว่าถูกหรือไม่ เพื่อจะได้มีการแก้ไขต่อไปด้วย ถือว่าจัดเต็มมากๆ ทั้งในด้านเนื้อหาและภาคปฏิบัติ ตลอดระยะเวลา 2 เดือนแรกสิ่งที่ฉันได้รับรู้คือ สิ่งที่ครูสอนนั้นต่างกับการเรียนในห้องเรียนสมัยที่ฉันเรียนอยู่ในโรงเรียน ตั้งแต่ในแง่ของการนำหลักไวยากรณ์มาใช้ หรือกระทั่งการอ่านตัวอักษรภาษาอังกฤษแต่ละตัว เพราะแต่ละตัวมีเสียงของตัวเอง เช่น BUT เราไม่ได้อ่านว่า บี-ยู-ที = บัด แต่เราต้องอ่านว่า bət คือ บ่ะ-เอ่อะ-ทึส์

 

 

ถ้าเราได้ถูกการปูพื้นฐานที่ถูกตั้งแต่แรกก็จะทำให้เราพูดได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น หรือใกล้เคียงกับ native speaker และฉันได้เห็นความเปลี่ยนแปลงนั้น ฉันอ่านภาษาอังกฤษได้ถูกต้องมากขึ้น หลักไวยากรณ์ดีขึ้น ยังคงมีที่ผิดพลาดอยู่ เพราะอาจจะไม่ชิน และไม่ค่อยได้ใช้บ่อย แต่ฉันก็รู้ว่าต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกฝนเพิ่มอีก และมันทำให้ฉันอยากที่จะทำตัวเองให้เก่งขึ้นอีก ฉันจึงตัดสินใจที่จะเรียนต่อในช่วงที่ 2 

 

ติดตามต่อใน post ถัดไปสำหรับพัฒนาการขั้นต่อมาจากการเรียนนะคะ

 

 

Porntipa Vongsakda